วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติกล้วย
Histoire des bananiers




 ถิ่นกำเนิดของกล้วย (First Home)
กล้วยเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้น ถิ่นแรกของกล้วยจึงอยู่แถบเอเชียตอนใต้ ซึ่งจะพบกล้วยพื้นเมืองทั้งที่มีเมล็ดและไม่มีเมล็ด และจากผลของการย้ายถิ่นฐานในการทำมาหากิน การอพยพประชากรจากเอเชียตอนใต้ไปยังหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่ต้นคริสต์ศักราชเป็นต้นมา ในการอพยพแต่ละครั้งจะต้องมีการนำเอาเสบียงอาหารติดตัวไปด้วย จึงได้มีการนำเอากล้วยไปปลูกแถบหมู่เกาะฮาวายและหมู่เกาะทางด้านตะวันออก
สำหรับประวัติกล้วยในประเทศไทย เข้าใจว่าประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของกล้วยป่าและต่อมาได้มีการนำเข้ากล้วยตานี และกล้วยชนิดอื่นในช่วงที่มีการอพยพของคนไทยในการตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย มีเอกสารกล่าวว่าในสมัยอยุธยาพบว่ามีกล้วยร้อยหวี
กล้วยเป็นไม้ผลที่คนไทยรู้จักกันมานาน และเป็นไม้ผลที่มนุษย์รู้จักบริโภคเป็นอาหารกันอย่างแพร่หลาย เชื่อกันว่า กล้วยเป็นไม้ผลชนิดแรก ที่มีการปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน และได้แพร่พันธุ์จาไปยังดินแดนอื่นๆ ในระยะเวลาต่อมา
              Les bananiers aiment pousser le climat tropical (hurnide) donc pays d’origine en Asie du Sud et nous pouvons trouver deux bananes indigènes avec des pépins ou sans.Et après l’immigrations de travail, des immigrés de l’Asie du Sud aux îles dans l’Océan Pacifique depuis   le début de l’ère crétienne. Chaque évacution,ils apportent des provisions avec eux. C’est pourquoi des bananiers ont été tranportées afin de planter aux îles de Hawai et aux îles de l’Est. Thaïlandaises Celle de la Thaïlande est l’esspèce des bananes sauvages et plus tard on apporte des bananes Tani et les autres esspèces après les immigrations  à l’epogue de Sukhothai et il y a les docemteités  à  l’époque d’Ayutthaya,ça existe des bananes espèce KlouyRoiWi. Les Thaïlandais connaissent bien des bananes il y a long temps et c’est un fruit connu pour consommer. On croit que les bananes sont les premiers fruits que les gens planter à domicile.


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กล้วยมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่สำคัญๆ ดังนี้

         ลำต้น  กล้วยมีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า หัว หรือ เหง้า (rhizome) ที่หัวมีตา (bud) ซึ่งจะเจริญเป็นต้นเกิด หน่อ (sucker) หลายหน่อ เรียกว่า การแตกกอ  หน่อที่เกิด หรือต้นที่เห็นอยู่เหนือดิน ความจริงแล้วมิใช่ลำต้น เราเรียกว่า ลำต้นเทียม (pseudostem) ส่วนนี้เกิดจากการอัดกันแน่นของกาบใบ ที่เกิดจากจุดเจริญของลำต้นใต้ดิน กาบใบจะชูก้านใบ และใบ และที่จุดเจริญนี้ จะมีการเจริญเป็นดอกตาขึ้นมาหลังจากสิ้นสุดการเจริญของใบ  ใบสุดท้ายก่อนการเกิดดอก เรียกว่า ใบธง




ดอก ดอกของกล้วยออกเป็นช่อ (inflorescence) ในช่อดอกยังมีกลุ่มของช่อดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ  ระหว่างกลุ่มของช่อดอกย่อยแต่ละช่อจะมีกลีบประดับ หรือที่เราเรียกกันว่า กาบปลี (bract) มีสีม่วงแดงกั้นไว้ กลุ่มดอกเพศเมียอยู่ที่โคน และกลุ่มดอกเพศผู้อยู่ที่ปลาย เป็นส่วนที่เราเรียกว่า หัวปลี (male bud) ระหว่างกลุ่มดอกเพศเมีย และดอกเพศผู้ มีดอกกะเทย แต่บางพันธุ์ก็ไม่มี ในช่อดอกย่อยแต่ละช่อมีดอกเรียงซ้อนกันอยู่ ๒ แถว ถ้าเป็นดอกเพศเมีย ดอกเหล่านี้จะเจริญต่อไปเป็นผล

ผล ผลกล้วยเกิดจากดอกเพศเมีย ซึ่งอยู่ที่โคน กลุ่มของดอกเพศเมีย ๑ กลุ่ม เจริญเป็นผล  เรียกว่า ๑ หวี ช่อดอกเจริญเป็น ๑  เครือ ดังนั้นกล้วย ๑ เครืออาจมี ๒ - ๓ หวี หรือมากกว่า ๑๐ หวี ทั้งนี้แล้วแต่พันธุ์กล้วยและการดูแลผลของกล้วยมีการเจริญได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ จึงทำให้กล้วยส่วนใหญ่ไม่มีเมล็ด





เมล็ด เมล็ดกล้วยมีลักษณะกลมเล็ก บางพันธุ์มีขนาดใหญ่ เปลือกหนา แข็ง มีสีดำ





ราก เป็นระบบรากฝอย แผ่ไปทางด้านกว้างมากกว่าทางแนวดิ่งลึก








ใบ ใบกล้วยมีลักษณะเป็นแผ่นใบใหญมีความกว้างประมาณ ๗๐ - ๙๐ เซนติเมตร ความยาว ๑.๗ - ๒.๕ เมตร ปลายใบมน รูปใบขอบขนาน โคนใบมน และแผ่นใบมีสีเขียว